MEA MEA
MEA MEA MEA
MEA
ขนาด
แสดงผล
  • C
  • C
  • C
  • C
Search
  • MEA
อำนาจหน้าที่
หน้าหลัก » เกี่ยวกับองค์กร » ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร » อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่

อำนาจหน้าที่ของการไฟฟ้านครหลวง

       การไฟฟ้านครหลวงมีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง พ.ศ. ๒๕๐๑ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๐ และ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยการไฟฟ้านครหลวง มีเขตดำเนินการในกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ และนนทบุรี มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจการจ่ายพลังไฟฟ้าให้มีความเพียงพอเชื่อถือได้ ปลอดภัย ในราคาที่เป็นธรรม รวมทั้งดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และอื่น ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้า และสาธารณชนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ 

การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของการไฟฟ้านครหลวง

       ๑. ผลิตพลังงานไฟฟ้าไปพลางก่อนในระหว่างที่ยังไม่ได้มีการโอนมาตรา ๑๔ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้ายันฮี พ.ศ. ๒๕๐๐
       ๒. จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า
       ๓. ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่อง หรือที่เป็นประโยชน์แก่การไฟฟ้านครหลวง
       ๔. สร้าง ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม และดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องใช้บริการ และความสะดวกต่าง ๆ ของการไฟฟ้านครหลวง
       ๕. ซื้อ จัดหา จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง โอน รับโอน แลกเปลี่ยน ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครองหรือดำเนินงานเกี่ยวกับทรัพย์สินใดๆ ตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
       ๖. สำรวจและวางแผนงานที่จัดทำใหม่ หรือขยายเพิ่มเติมภายในเขตท้องที่
       ๗. กำหนดประเภท ขนาด และมาตรฐานของสายส่งศักย์สูงย่อย หรือสายส่งศักย์ต่ำและเครื่องอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชา
       ๘. กำหนดอัตราค่าบริการ และความสะดวกต่าง ๆ ของการไฟฟ้านครหลวงและจัดระเบียบเกี่ยวกับวิธีชำระราคาและค่าบริการ
       ๙. จัดระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้และรักษาทรัพย์สินของการไฟฟ้านครหลวง
       ๑๐. กู้ยืมเงินหรือลงทุน
       ๑๑. ออกพันธบัตรหรือตราสารอื่นใดเพื่อการลงทุน
       ๑๒ จัดตั้งบริษัทจำกัดเพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องหรือที่เป็นประโยชน์แก่กิจการของการไฟฟ้านครหลวง
       ๑๓. เข้าร่วมกิจการกับบุคคลอื่น หรือถือหุ้นในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด เพื่อประโยชน์แก่กิจการของการไฟฟ้านครหลวง
       ๑๔. กระทำการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการไฟฟ้านครหลวง 

อำนาจของการไฟฟ้านครหลวง
       ๑. การเดินสาย ปักเสา หรือตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ในพื้นดินอันมิใช่ที่ตั้งโรงเรือน
           การไฟฟ้านครหลวง มีอำนาจเดินสายส่งศักย์สูงย่อย หรือสายส่งศักย์ต่ำ ไปใต้ เหนือ ตาม หรือข้ามพื้นดินของบุคคลใด ๆ หรือปัก หรือตั้งเสา สับสเตชั่น หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ลงใน หรือบนพื้นดินของบุคคลใด ๆ เมื่อพื้นดินนั้นไม่ใช่พื้นดินอันเป็นที่ตั้งโรงเรือน โดยแจ้งเป็นหนังสือและจ่ายค่าตอบแทนในการใช้ที่ดินนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองในจำนวนเงินอันเป็นธรรม เว้นแต่เจ้าของหรือผู้ครองครองเป็นผู้ได้รับประโยชน์คุ้มค่าในการกระทำนั้นอยู่ด้วย
          เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินนั้น อาจยื่นคำร้องแสดงเหตุที่ไม่สมควรทำเช่นนั้นไปยังคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงเพื่อพิจารณาวินิจฉัยในกำหนดเวลาสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงให้เป็นที่สุด

       ๒. การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
           เมื่อการไฟฟ้านครหลวงมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ เพื่อใช้ในระบบการส่งหรือการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า หรือตั้งสับสเตชั่น และมิได้ตกลงเรื่องการโอนเป็นอย่างอื่น การไฟฟ้านครหลวงมีอำนาจเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
       ๓. การตัดต้น กิ่ง หรือรากของต้นไม้
            การไฟฟ้านครหลวงมีอำนาจตัดต้น กิ่ง หรือรากของต้นไม้ ซึ่งอยู่ใกล้สายส่งศักย์สูงย่อย หรือสายส่งศักย์ต่ำ เสา สับสเตชั่น หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ โดยแจ้งให้เจ้าของหรือผู้ครองครองต้นไม้ได้ทราบล่วงหน้าภายในเวลาอันสมควร ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยในการส่งพลังงานไฟฟ้า
            กรณีต้นไม้นั้นมีอยู่ก่อนเวลาเดินสายส่งศักย์สูงย่อยหรือสายส่งศักย์ต่ำ หรือปักตั้งเสา สับสเตชั่น หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ การไฟฟ้านครหลวงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียในต้นไม้เท่าที่ต้องเสียหายเพราะการกระทำนั้น
       ๔. การรื้นถอนสิ่งก่อสร้าง
           เพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัยในการส่งพลังงานไฟฟ้า และเมื่อได้แจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารทราบล่วงหน้าในเวลาอันสมควร การไฟฟ้านครหลวงมีอำนาจทำการรื้อถอนเท่าที่จำเป็น โดยไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีดังต่อไปนี้
           ๔.๑ ป้าย โครงสร้างสำหรับติดตั้งป้าย หรือสิ่งอำนวยความสะดวก หรือป้องกันอันตรายในการก่อสร้างที่ติดหรือตั้งยื่นล้ำเข้ามาอยู่ใกล้สายส่งศักย์สูงย่อย หรือสายส่งศักย์ต่ำ เสา หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ
           ๔.๒ ป้าย โครงป้าย หรือสิ่งอื่นใดที่ปิดหุ้มคลุมทับสายศักย์ต่ำ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ใต้ หรือบนกันสาดอาคารชั้นล่าง หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคาร
           หากสิ่งใด ๆ ดังกล่าวข้างต้น มีอยู่ก่อนเวลาเดินสายส่งศักย์สูงย่อย หรือสายส่งศักย์ต่ำ หรือปักตั้งเสา หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ การไฟฟ้านครหลวงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเท่าที่ต้องเสียหายเพราะการกระทำนั้น

ไฟล์แนบ

   ชื่อไฟล์ ดาวน์โหลด วันที่สร้าง   
คำอธิบายสรุปสาระสำคัญ พ.ร.บ.กฟน. พ.ศ.2501.pdf
ขนาดไฟล์: 2.04 MB
221 21 เม.ย. 65
มาตรา-7-(2)-สรุปอำนาจหน้าที่ที่สำคัญของการไฟฟ้านครหลวง.pdf
ขนาดไฟล์: 246.79 KB
213 13 มี.ค. 66