แถลงนโยบายของ การไฟฟ้านครหลวง โดยผู้ว่าการ

ภายหลังสถานการณการแพรระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่สงผลกระทบระยะยาว ภาวะโลกรวน (Climate Change) ที่สรางความตระหนักใหทั่วโลก นำไปสู่การกำหนดเปาหมายการปลอยกาซเรือนกระจกสุทธิเปนศูนย (Net Zero Emissions or Net Zero) การผลักดันการเติบโตของเศรษฐกิจองครวม (BCG Model) โดยอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม ๆ การพัฒนาโครงสรางพื้นฐานที่จำเปนตองเริ่มจากการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อเปลี่ยนเขาสูโหมดเศรษฐกิจคารบอนต่ำ ซึ่งเปนความทาทายที่สะทอนความสามารถในการขับเคลื่อนและฟนตัวขององคกรทุกภาคสวน นำไปสูการเติบโตและพัฒนาของบางภาคธุรกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เกิดประโยชนสูงสุดตอประเทศชาติ องคกร และผูมีสวนไดสวนเสียทุกกลุม ถือเปนปจจัยที่การไฟฟ้านครหลวงใหความสำคัญในการบริหารจัดการตามบริบทองคกรที่เปลี่ยนแปลงไป
การไฟฟ้านครหลวงมีการบริหารจัดการระบบจำหน่ายและแสวงหาโอกาสทางธุรกิจ พร้อมปรับรูปแบบการปฏิบัติงานโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและพัฒนาบุคลากรรองรับความปกติถัดไป (The Next Normal) โดยกำหนดวิสัยทัศน์ คือ “พลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร (Energy for City Life Energize Smart Living)" ภายใต้ วิถีผู้ว่าการ/Governor Way คือ “สร้างการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน ส่งมอบนวัตกรรมบริการที่เป็นเลิศแก่ลูกค้า ขยายความร่วมมือทางธุรกิจผ่านพันธมิตร ด้วยโอกาสและความภาคภูมิใจสำหรับสมาชิกทุกคนในทีมการไฟฟ้านครหลวง" ควบคู่ไปพร้อมกับการสร้างแรงบันดาลใจให้บุคลากรมีความมุ่งมั่น และปฏิบัติตามค่านิยมองค์กร “CHANGE" เพื่อให้ผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ขององค์กร

ผู้ว่าการ ในฐานะผู้นำสูงสุดที่มีบทบาทสำคัญในการชี้นำ จึงกำหนดปรัชญาของผู้นำ คือ “ผู้นำเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Leader)" โดยมีการกำหนดทิศทางการนำองค์กรเพื่อความยั่งยืน คือ “พัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมนวัตกรรม สร้างผู้นำยุคใหม่ ขยายความร่วมมือทางธุรกิจผ่านพันธมิตรที่ดี" และการเป็นผู้นำต้นแบบ (Role Model) ด้วยบุคลิกและลักษณะของผู้นำ “GIVE" ประกอบด้วย
พันธมิตรที่ดี Good Partnership
สร้างแรงบันดาลใจส่งต่อนักบริหาร Inspire to Next Generation Leader
ฉับไว Velocity
กระจายอำนาจ Empowerment

นโยบายการดำเนินงานของการไฟฟ้านครหลวงขับเคลื่อนองค์กรด้วย ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ที่ครอบคลุมการดำเนินงานที่สำคัญใน 5 มิติ ได้แก่
1) ด้านระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Energy System) พัฒนาระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้รองรับกับวิถีชีวิตเมืองมหานคร โดยใช้เทคโนโลยีโครงข่ายอัจฉริยะและระบบสื่อสาร เพื่อตอบสนองต่อการควบคุมระบบไฟฟ้าในสภาวะต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) ด้านระบบบริการดิจิทัล (Digitalization Services) ขับเคลื่อนสู่องค์กรดิจิทัลด้วยรูปแบบบริการที่ทันสมัยตอบโจทย์การใช้ชีวิตแบบ Next Normal ของคนเมืองมหานคร เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่เหนือความคาดหมายให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้า รวมถึงตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วน
3) ด้านธุรกิจบริการครบวงจร (Service Provider) ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของ Core Business เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พัฒนาระบบไฟฟ้าไปสู่การเป็นมหานครอัจฉริยะ (Smart Metro Grid) ตลอดจนเตรียมพร้อมรองรับระบบไฟฟ้าของรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ และการเชื่อมต่อจาก Disruptive Technology อื่นๆ ในอนาคต ควบคู่กับการนำความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ความเชี่ยวชาญด้านระบบไฟฟ้าที่มีอยู่ของการไฟฟ้านครหลวงมาต่อยอด เพื่อสร้างโอกาสในการพัฒนาธุรกิจต่าง ๆ และการสร้างนวัตกรรมสู่ธุรกิจที่จะสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่องค์กร
4) ด้านการพัฒนาองค์กร (Organization Development) ทบทวนโครงสร้างองค์กรให้มีความคล่องตัว ยืดหยุ่น เอื้อต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและสอดรับกับวิธีการทำงานแบบใหม่ การพัฒนา Innovation Hub ตลอดจนการสร้างผู้นำในอนาคตที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่การพัฒนาแบบก้าวกระโดดและทันต่อเทคโนโลยี โดยพัฒนาระบบงานตามแนวทางการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจตามระบบประเมินผลใหม่ (State Enterprise Assessment Model: SE-AM) เพื่อเน้นประสิทธิผล 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย ด้านระบบงาน/กระบวนงาน ด้านโครงสร้างองค์กร และด้านบุคลากร
5) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การเปลี่ยนองค์กรสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ โดยนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งในระบบควบคุมสั่งการ (Supervisory Control And Data Acquisition: SCADA ) ระบบบริการจัดการฐานข้อมูลลูกค้า (Customer Service System: CSS) รวมถึงการพัฒนาของ Application ต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานและเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน
