MEA MEA
MEA MEA MEA
MEA
ขนาด
แสดงผล
  • C
  • C
  • C
  • C
Search
  • MEA
DR Pilot Project ปี 65 - 66
หน้าหลัก » เกี่ยวกับค่าไฟฟ้า » DR Pilot Project ปี 65 - 66
เกี่ยวกับค่าไฟฟ้า

DR Pilot Project ปี 65 - 66


!!!!! กฟน. จะจัดสัมมนาออนไลน์เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการนำร่องฯ ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มเป้าหมายที่สนใจ
ในวันที่ 31 มกราคม และ 2 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 9.00 - 12.00 น.
โดยผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานทาง Link
 
https://forms.gle/Me6zn5Ckv6NaFdsJ6 !!!!!


 รายละเอียดสำคัญของโครงการนำร่องการตอบสนองด้านโหลด ปี 2565 - 2566 ระยะที่ 2

1)
วัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการนำร่องฯ :

     เพื่อนำร่องการดำเนินธุรกิจ (Demand Response : DR) และเตรียมความพร้อม ตลอดจนเป็นการทดสอบการสั่งการและการใช้งานจริงของโปรแกรมตอบสนองด้านโหลด (DR Program) ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และโดยในการดำเนินโครงการนำร่องฯ ดังกล่าวจะใช้โปรแกรม DR ในรูปแบบ Firm (Commit Capacity DR Program) เพื่อทดแทนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 (ครั้งที่ 156) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2565
     ทั้งนี้ เนื่องจากยังมีผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงกานำร่องฯ ไม่ครบตามเป้าหมาย จึงได้มีการกำหนดให้เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการนำร่องฯ ระยะที่ 2 เพิ่มเติมจนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566


2) เป้าหมายกำลังไฟฟ้าที่เสนอลด :
    เป้าหมายรับสมัครลดการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ของ กฟน. เท่ากับ 19.5 เมกะวัตต์ ต่อช่วงเวลา  โดยเปิดรับสมัครลดการใช้ไฟฟ้า 2 ช่วงเวลา ได้แก่

          ช่วงที่ 1 : เวลา 13.30 - 16.30 น.
          ช่วงที่ 2 : เวลา 19.30 - 22.30 น.
   
ทั้งนี้ เป้าหมายฯ ดังกล่าว เป็นเป้าหมายฯ ที่รวมกำลังไฟฟ้าเสนอลดของผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนำร่องฯ ในระยะที่ 1 แล้ว


3) ระยะเวลาการเปิดรับสมัคร :
     เริ่มเปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566

4) ระยะเวลาเรียกลดการใช้ไฟฟ้า :
   ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการนำร่องฯ ระยะที่ 2 ต้องพร้อมให้เรียกลดการใช้ไฟฟ้าระหว่างเดือนเมษายน - ธันวาคม 2566 โดยมีความถี่และระยะเวลาของการลดการใช้ไฟฟ้า 3 ครั้งต่อเดือน และ 3 ชั่วโมงต่อครั้ง ตามลำดับ

5) ผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มเป้าหมาย :

    ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดกลาง (ประเภท 3) กิจการขนาดใหญ่ (ประเภท 4) และ กิจการเฉพาะอย่าง (ประเภท 5) ที่สามารถลดการใช้ไฟฟ้าต่อครั้งได้ตั้งแต่ 50 กิโลวัตต์ ขึ้นไป โดยมีการติดตั้งเครื่องวัดฯ อัจฉริยะ (Smart Meter) ในโครงการ Smart Metro Grid และโครงการ AMR ที่มีความพร้อมของระบบสื่อสารข้อมูลออนไลน์ ประกอบกับมีค่าสถิติซึ่งใช้ประเมินเสถียรภาพของรูปแบบของพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าตามเกณฑ์ที่กำหนด ทั้งนี้รายละเอียดเพิ่มเติมเป็นไปตามประกาศ กฟน. รับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการนำร่องฯ

6) คุณสมบัติต้องห้ามของผู้สมัคร :

    ต้องไม่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้อัตราค่าไฟฟ้าสำรอง (Standby Rate) และอัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ (Interruptible Tariff) และต้องไม่ทำการลดการใช้ไฟฟ้าโดยการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล/ใช้ก๊าซในการผลิตไฟฟ้า

7) กระบวนการเรียกลดการใช้ไฟฟ้า :

    กฟผ. จะส่งสัญญาณร้องขอให้ลดการใช้ไฟฟ้ามายัง กฟน. ภายในเวลา 17.00 น. ของวันก่อนวันที่ต้องลดการใช้ไฟฟ้า 1 วัน จากนั้น  กฟน. จะส่งต่อคำสั่งการลดการใช้ไฟฟ้า ไปยังผู้เข้าร่วมโครงการนำร่องฯ ภายในเวลา 09.00 น. ของวันที่ต้องลดการใช้ไฟฟ้า โดยผู้เข้าร่วมโครงการนำร่องฯ จะถูกเรียกให้ลดการใช้ไฟฟ้าได้ 3 ครั้ง/เดือน ครั้งละ 3 ชั่วโมง ต่อช่วงระยะเวลาที่ทำสัญญาลดการใช้ไฟฟ้า

8) อัตราค่าตอบแทนการเข้าร่วมโครงการนำร่องฯ :
    ประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่
           ส่วนที่ 1 : ค่าความพร้อมในการลดการใช้ไฟฟ้า  (Availability Payment : AP) ด้วยอัตรา 44.5692 บาท/กิโลวัตต์/เดือน

           ส่วนที่ 2 : ค่าพลังงานไฟฟ้าที่ลดได้ (Energy Payment : EP) กำหนดให้มีความแตกต่างกันตามเดือนที่เรียกลดการใช้ไฟฟ้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

เดือนที่ร้องขอให้ลดการใช้ไฟฟ้า

อัตรา EP

พฤศจิกายน และธันวาคม 2566

1.2790 บาท/หน่วย

เมษายน - ตุลาคม 2566

2.5581 บาท/หน่วย


หมายเหตุ : *   อัตราค่าตอบแทน AP และ EP ที่แจ้งในตารางข้างต้น เป็นอัตราที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
                    ** การจ่ายค่า AP และ EP จะไม่เกินค่าที่คำนวณได้จากกำลังไฟฟ้าเสนอลดที่ระบุไว้ในสัญญา ทั้งนี้รายละเอียดเพิ่มเติมในการคำนวณค่า AP และ EP เป็นไปตามประกาศรับสมัครเข้าร่วมโครงการนำร่องฯ


9) แนวปฏิบัติในกรณีที่มีผู้สมัครเกินกว่าเป้าหมาย :

     ใช้แนวทางการคัดเลือกโดยเรียงลำดับก่อนหลังของวันที่ผู้สมัครยื่นเอกสารครบถ้วน (First Come, First Served)

10) เว็ปไซต์สำหรับการสมัครเข้าร่วมโครงการนำร่องฯ แบบออนไลน์ :

       ผู้สนใจสามารถตรวจสอบคุณสมบัติของเครื่องวัดฯ เบื้องต้น และยื่นเอกสารประกอบการสมัครผ่านระบบ Online ผ่านเว็บไซต์ https://measervice.mea.or.th/dr/web/

11) ช่องทางการสอบถามข้อมูลโครงการนำร่องฯ :
       ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่งานวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล กองอัตราค่าไฟฟ้าและพยากรณ์พลังไฟฟ้า ฝ่ายเศรษฐกิจพลังไฟฟ้า
           - เบอร์โทร. 0-2220-5704 หรือ 0-2220-5000 ต่อ 4844 
           - เบอร์โทร.มือถือ 09-4417-2444 


12) กำหนดการสัมมนาออนไลน์ของ กฟน. เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการนำร่องฯ :

      กฟน. จะจัดการสัมมนาออนไลน์เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการนำร่องฯ ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมโครงการนำร่องฯ จำนวน ุ6 ครั้ง ได้แก่
          - วันจันทร์ที่ 16 
มกราคม 2566 เวลา 9.00 - 12.00 น.
          - วันพุธที่ 18 
มกราคม 2566 เวลา 9.00 - 12.00 น.
          - วันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2566 เวลา 9.00 - 12.00 น.
          - วันพุธที่ 25 มกราคม 2566 เวลา 9.00 - 12.00 น.
          - วันอังคารที่ 31 มกราคม 2566 เวลา 9.00 - 12.00 น.
          - วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 9.00 - 12.00 น.

      เนื้อหาของการสัมมนาจะเหมือนกันทั้ง 6 ครั้ง โดยผู้สนใจสามารถเลือกเข้าร่วมกิจกรรมครั้งใดครั้งหนึ่งตามที่ท่านสะดวก และผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานทาง Link 
https://forms.gle/Me6zn5Ckv6NaFdsJ6
 ทั้งนี้ ขอให้ผู้สนใจกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มลงทะเบียนให้แล้วเสร็จก่อนวันสัมมนาที่ท่านเลือก 1 วัน จากนั้นเจ้าหน้าที่ กฟน. จะแจ้ง Link การเข้าร่วมสัมมนาออนไลน์ให้ท่านทราบทาง E-mail ที่ท่านกรอกแบบฟอร์มไว้

หมายเหตุ : รายละเอียดของโครงการนำร่องฯ ที่แสดงในเว็ปไซต์นี้ กฟน. คัดเลือกเฉพาะรายละเอียดสำคัญบางส่วนมาแสดง ทั้งนี้ขอให้ผู้สนใจศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในประกาศรับสมัครเข้าร่วมโครงการนำร่องฯ ซึ่ง กฟน. อยู่ระหว่างจัดทำ และจะประกาศให้ทราบต่อไป