MEA MEA
MEA MEA MEA
MEA
ขนาด
แสดงผล
  • C
  • C
  • C
  • C
Search
  • MEA
มาตรการที่สำคัญ
หน้าหลัก » เกี่ยวกับองค์กร » การกำกับดูแลกิจการที่ดี » การส่งเสริมการดำเนินงาน » มาตรการที่สำคัญ

มาตรการที่สำคัญ

 
    • มาตรการส่งเสริมความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง


               กฟน. ในฐานะหน่วยงานภาครัฐ ได้มีการพัฒนาและยกระดับการดำเนินงานให้โปร่งใสและป้องกันการทุจริต เพื่อสนองนโยบายภาครัฐและเปิดเผยข้อมูลขององค์กรให้มีระบบตามมาตรฐานสากล ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เริ่มตั้งแต่
    • กำหนดเป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ ขององค์กร


               ซึ่ง กฟน. มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนองค์กร ให้เป็นองค์กรโปร่งใส ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชันอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม ตามค่านิยม CHANGE ภายใต้ตัว G : Governance โปร่งใส มีคุณธรรม โดยนําค่านิยมมาเป็นกรอบในการกําหนดวัฒนธรรมองค์กร แปลงให้เป็นพฤติกรรมเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เริ่มตั้งแต่คณะกรรมการ กฟน. ผู้นำสูงสุด ผู้นำระดับสูง ประพฤติตนเป็นต้นแบบด้านจริยธรรมคุณธรรมตามที่กำหนดไว้ในประมวลจริยธรรมและจรรยาบรรณ  พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎหมายและประพฤติปฏิบัติอย่างมีจริยธรรม
    • มีนโยบายคุณธรรมและความโปร่งใส


               มีนโยบายคุณธรรมและความโปร่งใสเพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอรัปชันทุกรูปแบบ มุ่งสู่การเป็นองค์กรโปร่งใส มีคุณธรรม สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและสังคม โดยกำหนดแนวทางให้คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง ผู้บริหาร และพนักงานถือปฏิบัติและดำเนินการ ดังนี้
               1. บริหารงานและปฏิบัติงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยมุ่งตอบสนองความต้องการของประชาชนด้วยการบริการที่รวดเร็ว ถูกต้อง เสมอภาค โปร่งใส และเป็นธรรม
               2. ปลูกฝังค่านิยมและทัศนคติให้บุคลากรในสังกัดมีความรู้ความเข้าใจ ยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการปฏิบัติงานและ
การดำเนินชีวิต
               3. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ส่งเสริมการดำเนินการให้เกิดความโปร่งใสในทุกขั้นตอน และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการปฏิบัติงาน โดยเปิดเผยข้อมูลข่าวสารในการดำเนินกิจกรรมในทุกรูปแบบ
               4. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนแจ้งข้อมูลข่าวสารเบาะแสการทุจริต ร้องเรียนร้องทุกข์ ผ่านศูนย์ดำรงธรรม กฟน. ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตการไฟฟ้านครหลวง
               5. กรณีพบการทุจริตจะดำเนินการสอบสวนและลงโทษขั้นสูงกับผู้ที่ทุจริตอย่างจริงจัง
    • เปิดให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

               

               นอกจากนั้น ตามที่ คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ถือว่าเป็นภารกิจที่ท้าทายของ กฟน. ในการดำเนินงานโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งช่วยสร้างความปลอดภัย และเสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้า รวมทั้งสร้างทัศนียภาพที่สวยงาม เพื่อรองรับให้ “กรุงเทพฯ” เป็นเมืองสวยงาม เพื่อนำไปสู่การเป็นมหานครแห่งอาเซียนนั้น โดยสิ่งหนึ่งที่ถือว่าเป็นที่จับตามอง นั่นก็คือ วงเงินงบประมาณในการก่อสร้างที่มีมูลค่าสูง กฟน. ได้มีการวางกลไกในการสร้างความเชื่อมั่นในความโปร่งใสของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง โดยการเข้าร่วมจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) ตามแนวทางของกรมบัญชีกลาง
               โดยการเปิดให้ภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในฐานะผู้สังเกตุการณ์  เพื่อสร้างความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และสามารถนําข้อมูลใดๆ ออกเปิดเผยต่อสาธารณะได้ เมื่อเห็นสมควร

               จัดให้มีมาตรฐานขั้นต่ำของการจัดซื้อจัดจ้าง ที่ผู้ประกอบการต้องจัดให้มีตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560

    • มาตรการตรวจสอบการใช้ดุลพินิจ


               การไฟฟ้านครหลวง ได้มีการจัดวางโครงสร้างการบริหารงานที่มีการตรวจสอบถ่วงดุล (Check and Balance) มีการบริหารจัดการความเสี่ยง และการควบคุมภายในให้ฝังอยู่ในกระบวนการปฏิบัติงานประจำวัน อีกทั้งยังมีการนำระบบบริหารคุณภาพมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับการบริการ และเพื่อปรับปรุงการบริหารคุณภาพโดยรวมของการบริการของการไฟฟ้านครหลวงทั้ง 18 เขต ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐาน ISO 9001:2015

               1. จัดวางโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดี
               โดยจัดให้มีโครงสร้างการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ กฟน. ซึ่งถ่ายระดับจากคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงและการกำกับดูแลกิจการที่ดี คณะกรรมการกำกับดูแลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของการไฟฟ้านครหลวง จนถึงพนักงานทุกกลุ่มทุกระดับใน กฟน.  ซึ่งมีการทำงานมีการตรวจสอบถ่วงดุล (Check and Balance) และมีการบริหารจัดการความเสี่ยง และการควบคุมภายในให้ฝังอยู่ในกระบวนการปฏิบัติงานประจำวัน และมีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นผู้สอบบัญชีทำการตรวจสอบรับรองบัญชีทุกปี
 
               2. นโยบาย กฎระเบียบ ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน
               กำหนดนโยบายและกฎระเบียบ ขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินการอย่างชัดเจนเป็นมาตรฐาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ชัดเจนลดการใช้ดุลพินิจ เช่น การกำหนดขั้นตอนและระยะเวลาการให้บริการที่ชัดเจน เพื่อสร้างมาตรฐานและความเป็นธรรมในการปฏิบัติงานและการให้บริการ ตามคู่มือสำหรับประชาชน ตาม พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 และเผยแพร่กระบวนการอำนวยความสะดวกหรือการให้บริการประชาชน ทางเว็บไซต์หน่วยงาน
 
               3. การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาพัฒนาการปฏิบัติงาน
               นำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการของการไฟฟ้านครหลวง เพื่อลดการใช้ดุลพินิจ และการพบเจ้าหน้าที่ซึ่งเสี่ยงต่อการทุจริต และสนองตอบ lifestyle ของคนเมืองในยุคปัจจุบัน เช่น
               MEA Smart Life Application เป็น Application บน Smart Phone, Tablet ที่รวบรวมการให้บริหารทางด้านไฟฟ้ามาอยู่ภายใน Application เดียว
               MEA e-Service เป็นบริการทาง Internet ผ่าน www.mea.or.th ที่ยกระดับความสะดวกสบาย ทำให้เรื่องไฟฟ้าง่ายๆ ชีวิตบนโลกออนไลน์ทำได้มากกว่าที่คิด ทุกเวลา ครบฟังก์ชัน
 
               4. การจัดวางระบบการควบคุมภายใน
               จัดโครงสร้างโดยมีระบบการควบคุมภายในตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 สอดคล้องกับมาตรฐานสากล (The Committee of Sponsoring Organizations ofthe Treadway Commission : COSO)  มีฝ่ายตรวจสอบภายในเป็นหนว่ยงานอิสระ ทำหน้าที่ สอบทานการประเมินการควบคุมด้วยตนเองของระดับหน่วยงานย่อย และรายงานผลต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวงเป็นประจำทุกไตรมาสและประจำปี รวมทั้งรายงานการควบคุมภายในประจำปีของ กฟน. ต่อคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
               โดยการจัดวางสามารถตรวจสอบได้ครอบคลุมกิจกรรมที่สำคัญ มีกระบวนการตรวจสอบ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์กระทรวงการคลังว่าด้วยมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการควบคุมภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2561 ครอบคลุมทั้ง 5 องค์ประกอบ ได้แก่ สภาพแวดล้อมของการควบคุม (Control Environment)  การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) สารสนเทศและการสื่อสาร(Information & Communication) และการติดตามประเมินผล (Monitoring) สำหรับความเสี่ยงในระดับองค์กร กฟน. ได้จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง รวมทั้งติดตามและรายงานผลแก่คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
 
               5. กลไกเพื่อป้องปรามยับยั้งไม่ให้กระทำผิด และลดปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบ
               MEA Whistle Blowing System ช่องทางการแจ้งเบาะแสผ่านระบบรับเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบผ่านระบบอิเลคทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงง่าย และติดตามสถานะการจัดการข้อร้องเรียนผ่านทางระบบฯ ที่สำคัญระบบดังกล่าวให้ความคุ้มครองผู้ร้องเรียน โดยปกปิดชื่อผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับสูงสุด อีกทั้ง กฟน. มีการประกาศนโยบายการคุ้มครองพนักงานผู้แจ้งเบาะแสและปฏิเสธการคอร์รัปชัน ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการร้องเรียน