MEA MEA
MEA MEA MEA
MEA
ขนาด
แสดงผล
  • C
  • C
  • C
  • C
Search
  • MEA
นโยบายการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด
หน้าหลัก » เกี่ยวกับองค์กร » การกำกับดูแลกิจการที่ดี » นโยบาย » นโยบายการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด
นโยบาย

นโยบายการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด

นโยบายการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด (Whistle Blowing Policy)

การไฟฟ้านครหลวงกำหนดนโยบายการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในการบริหารงานอย่างโปร่งใส สุจริต
เป็นธรรม รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการปฏิบัติงานตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยคณะกรรมการ
การไฟฟ้านครหลวง ผู้บริหาร พนักงานทุกคนปฏิบัติงานอย่างมีจริยธรรม

ให้ความสำคัญกับการป้องกันและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่อาจเกิดขึ้นภายในและภายนอกองค์กร หากการไฟฟ้านครหลวงพบว่ามีการละเมิดจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ จะไม่มีการผ่อนผันใดๆ นอกจากนี้ การไฟฟ้านครหลวงมีกลไกสำคัญในการลดปัญหาการประพฤติชอบและการรับสินบน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือการป้องปราบ (Deterrence) ยับยั้งไม่ให้กระทำผิด โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มสามารถร้องทุกข์ ร้องเรียน การประพฤติผิดกฎหมาย กฎระเบียบ คำสั่งขององค์กร ตลอดจนแจ้งเบาะแสการกระทำใดๆ ที่ไม่ถูกต้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าถึงได้ง่าย และให้ความคุ้มครองผู้ร้องเรียนซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการร้องเรียนนั้นโดยปกปิดชื่อผู้แจ้งเบาะแสเป็นความลับ มีขั้นตอนในการสอบสวนผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอย่างเป็นธรรม มีหลักฐานที่ชัดเจน ตรวจสอบได้ และบันทึกการสอบสวนอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร


คำนิยาม

นโยบายการแจ้งเบาะแสการกระทำผิด (Whistle Blowing Policy)

หมายถึง นโยบายที่องค์กรเปิดีรับข้อร้องทุกข์ ร้องเรียน ในการประพฤติผิดต่างๆ เกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับขององค์กร ตลอดจนจริยธรรม จรรยาบรรณ ที่เกิดขึ้นภายในองค์กร และพร้อมจะคุ้มครองผู้ที่ร้องเรียน หรือให้ข้อมูลเบาะแสความไม่ถูกต้อง ที่ชัดเจน

ผู้เปิดเผยข้อมูล (Whistle Blower)

หมายถึง บุคคลผู้นำข้อมูลภายในองค์กรเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมาย การใช้อำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การทุจริต การใช้เงินอย่างไม่ถูกต้อง การคอร์รัปชั่น หรือการกระทำที่เป็นภัยต่อความมั่นคงในระบบจำหน่ายไฟฟ้าและการบริหาร ออกมาเปิดเผยกับองค์กร เพื่อให้มีการสอบสวนหาข้อเท็จจริง หรือนำมาใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีกับผู้เกี่ยวข้อง

การให้ช้อมูล (Whistle Blowing)

หมายถึง การให้ข้อมูลซึ่งสามารถนำไปเป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี ในกรณีที่มีการกระทำไม่ชอบด้วยกฎหมาย กฎระเบียบ การทุจริต การใช้เงินที่ไม่ถูกต้อง การใช้อำนาจโดยมิชอบ หรือการกระทำใดๆ ซึ่งเป็นภัยต่อความมั่นคงในระบบจำหน่ายไฟฟ้าและการบริการ

การกระทำผิด

    • 1

      การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับขององค์กร

    • 2

      การปฏิบัติไม่ถูกต้องตามมาตรฐานวิชาชีพ จริยธรรมและจรรยาบรรณ

    • 3

      การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่

    • 4

      การทุจริตต่อหน้าที่

    • 5

      การใช้อำนาจในทางมิชอบ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน และผู้อื่น



    • 6

      การใช้ทรัพย์สิน หรือสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ขององค์กร โดยมิได้รับอนุญาต

    • 7

      การไม่รายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เมื่อเกิดเหตุแห่งการขัดแย้ง

    • 8

      การเปิดเผยข้อมูลองค์กร โดยมิได้รับอนุญาต

    • 9

      การเรียกรับผลประโยชน์ใดๆ จากผู้ใช้ไฟฟ้า

การปกป้องผู้แจ้งเบาะแส/ผู้ร้องเรียน/ผู้ให้ข้อมูล

ชื่อ ที่อยู่ ของผู้แจ้งเบาะแส/ผู้ร้องเรียน/ผู้ให้ข้อมูล ตลอดจนข้อมูลที่ได้รับแจ้ง จะถูกเก็บเป็นความลับโดยองค์กร ด้วยมาตรการรักษาความลับ และคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส/ผู้ร้องเรียน/ผู้ให้ข้อมูล มิให้ได้รับการข่มขู่ คุกคาม จากการแจ้งเบาะแส/ร้องเรียน/ให้ข้อมูลนั้นๆ และหากผู้ที่เสียประโยชน์ หรือได้รับผลกระทบจากการแจ้งเบาะแสนั้น ข่มขู่ คุกคามใดๆ ต่อผู้แจ้งเบาะแส/ร้องเรียน/ให้ข้อมูล จะถูกดำเนินการตามมาตรการขององค์กร รวมถึงต้องถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย

วิธีการแจ้งเบาะแส/ร้องเรียน/ให้ข้อมูล

    • 1

      แจ้งชื่อ ที่อยู่ ของผู้แจ้งเบาะแส/ผู้ร้องเรียน/ผู้ให้ข้อมูล อย่างชัดเจน

    • 2

      ชื่อผู้กระทำผิด เหตุแห่งการกระทำผิดที่เป็นข้อมูลจริง มีหลักฐาน พยาน (ถ้ามี) อย่างเพียงพอ

ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน

    • 1

      ช่องทางพิเศษ กรณีร้องเรียนกรรมการการไฟฟ้านครหลวง แจ้งเรื่องร้องเรียนได้ที่

      •  ประธานกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ในการไฟฟ้านครหลวง

    • 2

      ช่องทางปกติ กรณีแจ้งเบาะแสการกระทำผิด แจ้งเรื่องร้องเรียนได้ที่

      •  
      • กรรมการการไฟฟ้านครหลวง
      •  
      • ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง
      •  
      • ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงาน
      •  
      • ประธานกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee) ในการไฟฟ้านครหลวง
        (ช่องทางพิเศษ และช่องทางปกติ สามารถนำส่งข้อมูลทางไปรษณีย์ได้ที่ การไฟฟ้านครหลวง เลขที่ 30 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330)
      •  
      • Call Center 1130
      •  
      • ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต กระทรวงมหาดไทย (ศปท. มท. โทร 1567)

    • 3

      การทุจริตต่อหน้าที่

    • 4

      การใช้อำนาจในทางมิชอบ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน และผู้อื่น

    • 5

      การใช้ทรัพย์สิน หรือสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆ ขององค์กร โดยมิได้รับอนุญาต

    • 6

      การไม่รายงานความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เมื่อเกิดเหตุแห่งการขัดแย้ง

    • 7

      การเปิดเผยข้อมูลองค์กร โดยมิได้รับอนุญาต

    • 8

      การเรียกรับผลประโยชน์ใดๆจากผู้ใช้ไฟฟ้า