อัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ (Interruptible Tariff)
อัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ตามช่วงเวลาของการใช้ เป็นอัตราเลือกอีกประเภทหนึ่งที่ ใช้ควบคู่กับอัตราปกติ สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดใหญ่ มีรายละเอียดและเงื่อนไขดังนี้
เป็นผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภทกิจการขนาดใหญ่ ที่มีความต้องการพลังไฟฟ้าตั้งแต่ 5,000 กิโลวัตต์ขึ้นไป และมีปริมาณพลังไฟฟ้า ที่ สามารถให้งดจ่ายไฟฟ้าได้ (Interruptible Demand) เมื่อการไฟฟ้านครหลวงร้องขอไม่น้อยกว่า1,000 กิโลวัตต์
- Interruptible Demand หมายถึงปริมาณพลังไฟฟ้าที่ผู้ใช้ไฟฟ้ายินยอม ให้การไฟฟ้านครหลวงงดจ่ายไฟฟ้าได้เมื่อการไฟฟ้านครหลวงร้องขอ
- Firm Demand หมายถึง ผลต่างของ Maximum Demand (พลังไฟฟ้าสูงสุด) กับ Interruptible Demand
- Maximum Take หมายถึง ปริมาณพลังไฟฟ้าสูงสุดช่วง On Peak ที่ผู้ใช้ไฟฟ้าทำสัญญากับการไฟฟ้านครหลวงว่าจะไม่สามารถงดการใช้ไฟฟ้าได้ ต่ำกว่านี้
- ปริมาณพลังไฟฟ้าตามสัญญาผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความต้องการซื้อไฟฟ้าประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้นี้ จะต้องทำสัญญา ระบุปริมาณ Interruptible Demand และ Maximum Take ที่แน่นอน กับการไฟฟ้านครหลวง ทั้งนี้การไฟฟ้านครหลวง จะทำการตรวจสอบความเป็นไปได้ และของปริมาณ Interruptible Demand Maximum Take ก่อนทำสัญญา
- การแจ้งงดจ่ายไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวงจะแจ้งให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทราบเวลางดจ่ายไฟฟ้า และระยะเวลางดจ่ายไฟฟ้าล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมงโดยทางโทรสาร โทรศัพท์ หรือ Internet
- การงดใช้ไฟฟ้า
- เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับแจ้งเวลาของดจ่ายไฟฟ้า จะต้องดำเนินการดับ หรือลดการใช้ไฟฟ้าให้ได้ปริมาณ Interruptible Demand ตามเวลาและระยะเวลาที่การไฟฟ้านครหลวงแจ้งตามข้อ 3.2 โดยปริมาณพลังไฟฟ้าให้อ่านจากมาตรวัดค่าพลังไฟฟ้า (Demand Meter) ก่อนงดจ่ายไฟฟ้าเทียบกับเมื่อดำเนินการงดจ่ายไฟฟ้าแล้ว
- ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ลดการใช้ไฟฟ้าถึงระดับ Maximum Take แต่ปริมาณ Interruptible Demand น้อยกว่าสัญญาให้ถือว่าไม่ผิดสัญญาหากลดการใช้ไฟฟ้าถึงระดับ Maximum Take แต่ปริมาณ Interruptible Demand น้อยกว่าสัญญา 2 ครั้งแล้วการไฟฟ้านครหลวงสามารถปรับปริมาณ Interruptible Demand ใหม่ได้
- ผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถขอแก้ไขปริมาณ Interruptible Demand และ/หรือ Maximum Take ที่ทำสัญญาไว้ได้ โดยทำหนังสือแจ้งให้การไฟฟ้านครหลวงทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน โดยมีระยะเวลาการแจ้งแต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 12 เดือน
- การไฟฟ้านครหลวงสามารถขอแก้ไขปริมาณ Interruptible Demand และ/หรือ Maximum Take ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สามารถงดการใช้ไฟฟ้าได้ 2 ครั้ง ตามข้อ 3.3.2 โดยพิจารณาจากลักษณะการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง
- การไฟฟ้านครหลวง สามารถขอแก้ไขปริมาณ Interruptible Demand และ/หรือ Maximum Take เมื่อปริมาณ Firm Demand น้อยกว่าปริมาณ Maximum Take เป็นเวลา 2 เดือนติดต่อกัน หรือเป็นเวลา 3 เดือนในรอบปีสัญญา โดยพิจารณาจากลักษณะการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง
การไฟฟ้านครหลวงจะของดจ่ายไฟฟ้า (Interrupt) ระหว่างเวลา 09.00 – 22.00 น. (ยกเว้นวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดราชการตามปกติ) โดยมีจำนวนครั้งและระยะเวลาตามข้อ 6.
6. จำนวนครั้งและระยะเวลาที่การไฟฟ้าสามารถงดจ่ายไฟฟ้ามี 3 ทางเลือกโดยมีอัตราค่าไฟฟ้าตาม ข้อ 14 ดังนี้
-
ทางเลือกที่ 1
การงดจ่ายไฟฟ้าไม่เกิน 3 ชม./ครั้ง, 2 ครั้ง/วัน, 10 ครั้ง/เดือน, 40 ครั้ง/ปี -
ทางเลือกที่ 2
การงดจ่ายไฟฟ้าไม่เกิน 3 ชม./ครั้ง, 1 ครั้ง/วัน, 10 ครั้ง/เดือน, 20 ครั้ง/ปี ทางเลือกที่ 3 การงดจ่ายไฟฟ้าไม่เกิน 6 ชม./ครั้ง, 1 ครั้ง/วัน, 10 ครั้ง/เดือน, 20 ครั้ง/ปี
เมื่อการไฟฟ้านครหลวงแจ้งงดจ่ายไฟฟ้าตาม ข้อ 3.2 และผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สามารถปฏิบัติตามข้อ 3.3 ให้ถือว่าเป็นการผิดสัญญา จะมีบทปรับกรณีผิดสัญญา ตามข้อ 8
กรณีผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สามารถดับไฟฟ้าได้ตามที่ทำสัญญาไว้ (ในรอบปีนับจากวันที่เริ่มต้นสัญญา)จะมีบทปรับดังนี้
-
ครั้งที่ 1
การไฟฟ้านครหลวงจะคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสำหรับ Interruptible Demand เป็น 1.5 เท่าของอัตราค่าความต้องการพลังไฟฟ้า ปกติในช่วง On Peak ประเภทกิจการขนาดใหญ่ -
ครั้งที่ 2
การไฟฟ้านครหลวงจะคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสำหรับ Interruptible Demand เป็น 1.5 เท่าของการไฟฟ้านครหลวงจะคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสำหรับ Interruptible Demand เป็น 2 เท่า ของอัตราค่าความต้องการพลังไฟฟ้า ปกติในช่วง On Peak ประเภทกิจการขนาดใหญ่ -
ครั้งที่ 3
การไฟฟ้านครหลวง จะคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสำหรับ Interruptible Demand เป็น 3 เท่า ของอัตราค่าความต้องการพลังไฟฟ้าปกติในช่วง On Peak ประเภทกิจการขนาดใหญ่ -
ครั้งที่ 4
การไฟฟ้านครหลวง จะคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสำหรับ Interruptible Demand เป็น 3 เท่า ของอัตราค่าความต้องการ พลังไฟฟ้าปกติในช่วง On Peak ประเภทกิจการขนาดใหญ่ และการไฟฟ้านครหลวงสามารถยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้าในอัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่ สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ ทั้งนี้ผู้ใช้ไฟฟ้าจะกลับไปซื้อไฟฟ้าในอัตราปกติ เช่นเดิม
สำหรับการขอดับไฟฟ้า ครั้งแรก นับจากวันเริ่มต้นสัญญา หากผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สามารถดับไฟฟ้าได้ ตามสัญญาการไฟฟ้านครหลวงจะผ่อนผันคิดค่าไฟฟ้า Interruptible Demand ตามอัตราปกติโดยไม่นับเป็นการผิดสัญญาครั้งที่ 1 แต่หากผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ 2 ครั้ง หรือครั้งแรกปฏิบัติได้ครั้งที่สองปฏิบัติไม่ได้จะถูกปรับโดยนับเป็นการผิดสัญญาครั้งที่ 1
การทำสัญญาอัตราค่าไฟฟ้า ประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ จะใช้เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าชนิดที่อ่านได้ทั้งพลังงานไฟฟ้า และความต้องพลังไฟฟ้าทุก ๆ 15 นาที และอ่านย้อนหลังได้ไม่น้อยกว่า 31 วัน โดยมีคุณภาพตามมาตรฐานที่การไฟฟ้านครหลวงกำหนด
อายุของสัญญากำหนดไว้ 5 ปี เมื่อครบอายุสัญญา คู่สัญญาจะพิจารณาดำเนินการต่อไป
ในระหว่างอายุสัญญา คู่สัญญาสามารถยกเลิกสัญญาได้ในกรณีต่อไปนี้
- ผู้ใช้ไฟฟ้าขอยกเลิกสัญญาได้เมื่อปฏิบัติตามสัญญาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับจากวันเริ่มต้นของสัญญา
- ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้เป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 1 ปี
- การไฟฟ้านครหลวงสามารถยกเลิกสัญญาได้ เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้ามีปริมาณ Interruptible Demand ต่ำกว่า 1,000 กิโลวัตต์
กรณีต่อไปนี้เป็นกรณียกเว้นนอกเหนือจากการแจ้งให้งดจ่ายไฟฟ้า ตามเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้าอัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้
- กรณีไฟฟ้าดับจากเหตุขัดข้องในระบบหรือการแจ้งดับไฟฟ้าเพื่อการบำรุงรักษาหรือก่อสร้างปรับปรุง
- กรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่ในภาวะ Shut Down Load ที่รับไฟจากการไฟฟ้านครหลวงซึ่งเป็นการ Shut Down ตามแผนบำรุงรักษาประจำปี หรือ Shut Down เนื่องจากเหตุฉุกเฉินและผู้ใช้ไฟฟ้าได้แจ้งให้การไฟฟ้านครหลวงทราบทันทีที่เกิดเหตุดังกล่าวแล้ว
ปริมาณความต้องการพลังไฟฟ้า คิดเงินสำหรับอัตราค่าไฟฟ้าประเภท ที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ คือ Interruptible Demand ที่ทำสัญญาไว้ปริมาณความต้องการพลังไฟฟ้าคิดเงินสำหรับอัตราปกติคือ Firm Demand
อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff)
-
ทางเลือกที่ 1 และ 3
การไฟฟ้านครหลวงจะคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสำหรับ Interruptible Demand เป็น 1.5 เท่าของอัตราค่าความต้องการพลังไฟฟ้า ปกติในช่วง On Peak ประเภทกิจการขนาดใหญ่
ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์) | ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) | ค่าบริการ (บาท/เดือน) | |||
---|---|---|---|---|---|
On Peak | Off Peak | On Peak | Off Peak | ||
14.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป | 14.83 | 0 | 4.1025 | 2.5849 | 312.24 |
14.2 แรงดัน 12 – 24 กิโลโวลต์ | 26.59 | 0 | 4.1839 | 2.6037 | 312.24 |
-
ทางเลือกที่ 2
ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์) | ค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) | ค่าบริการ (บาท/เดือน) | |||
---|---|---|---|---|---|
On Peak | Off Peak | On Peak | Off Peak | ||
14.3 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป | 44.48 | 0 | 4.1025 | 2.5849 | 312.24 |
14.4 แรงดัน 12 – 24 กิโลโวลต์ | 79.76 | 0 | 4.1839 | 2.6037 | 312.24 |
On Peak
เวลา 09.00 - 22.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์Off Peak
เวลา 22.00 - 09.00 น. วันจันทร์ - วันศุกร์เวลา 00.00 - 24.00 น. วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันแรงงานแห่งชาติ
วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันพืชมงคลและวันหยุดชดเชย)
ความต้องการพลังไฟฟ้า : คิดในช่วงเวลา On Peak
ข้อกำหนดเกี่ยวกับอัตราค่าไฟฟ้า
-
1
อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น เป็นอัตราที่เรียกเก็บรายเดือน ที่ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม -
2
ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บในแต่ละเดือน ประกอบด้วยค่าไฟฟ้าตามอัตราค่าไฟฟ้าฐาน และค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยมีการเรียกเก็บ Ft ทุกเดือน แยกเป็นรายการในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า ทั้งนี้ Ft ที่เรียกเก็บจะปรับเปลี่ยนทุกๆ 4 เดือน โดยกำหนดให้ Ft เป็นอัตราคงที่ต่อหน่วยการใช้พลังงานไฟฟ้า
ไฟล์แนบ
ชื่อไฟล์ | ดาวน์โหลด | วันที่สร้าง | |||
---|---|---|---|---|---|
อัตรางดจ่ายไฟฟ้าได้_เริ่มใช้เดือน ม.ค. 66.pdf
ขนาดไฟล์: 123.06 KB |
155 | 13 ม.ค. 66 | |||