• MEA

 โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

การไฟฟ้านครหลวง

ความเป็นมา อพ.สธ. - กฟน.

 

 

ความเป็นมา

                พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยในปี 2503 ทรงมีพระราชดำริที่จะสงวนป่าต้นยางที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ไว้เป็นสวนสาธารณะด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะมีราษฎรเข้ามาทำไร่ทำสวนในบริเวณนั้นมาก  ในปี 2504 จึงทรงทดลองปลูกต้นยางเอง ในเขตอำเภอท่ายาง พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล หัวหิน และทรงทดลองปลูกใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา  ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพรรณไม้จากภาคต่างๆ ทั่วประเทศ มาปลูกในบริเวณที่ประทับสวนจิตรลดา เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้ และในปี 2529 ทรงเปิดอาคารห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่โครงการส่วน พระองค์ฯ โดยได้ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และเผยแพร่ความรู้ที่ได้สู่ประชาชน

 

            ในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ให้อนุรักษ์พืชพรรณของประเทศและดำเนินการเป็นธนาคารพืชพรรณ

           โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  ได้เริ่มดำเนินการโดยฝ่ายวิชาการโครงการส่วนพระองค์ฯ สำหรับงบประมาณดำเนินงานนั้น สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้สนับสนุนให้กับโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยจัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้นในปี 2536 สำหรับเก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่เป็นเมล็ดและเนื้อเยื่อ และสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานทุกกิจกรรมของโครงการ พ.ศ 2536 จนถึงปัจจุบัน


อพ.สธ. และ กฟน.

           ใน ปี 2544 เป็นต้นมา การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้งทางด้านการดูแลระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องปรับอากาศ พร้อมถวายเงินรายได้จากการจัดแข่งขันกอล์ฟ MEA Classic เป็นประจำทุกปี ต่อมาในปี 2546 กฟน. ร่วมกับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ทูลเกล้าฯ ถวายพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย ที่เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

           ในปี 2560 กฟน. เริ่มเข้าไปดำเนินการในศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ คลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย การบำรุงรักษา-ปรับปรุงระบบไฟฟ้า และระบบปรับอากาศในศูนย์ฯ รวมถึงการติดตั้งโคมไฟส่องสว่างภายในโครงการ เป็นต้น


การสนับสนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

          
การไฟฟ้านครหลวง ได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นโครงการจัดการทรัพยากรพันธุกรรมพืชในประเทศไทย รวมถึงการจัดการ 3 ฐานทรัพยากร ได้แก่ ทรัพยากรกายภาพ ทรัพยากรชีวภาพ และทรัพยากรวัฒนธรรมและภูมิปัญญา  ผ่านกิจกรรม 8 กิจกรรม ดังนี้

  • กิจกรรมที่ กิจกรรมปกปักทรัพยากร
  • กิจกรรมที่ กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร
  • กิจกรรมที่ กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร
  • กิจกรรมที่ กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร
  • กิจกรรมที่ กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร
  • กิจกรรมที่ กิจกรรมวางแผนพัฒนาทรัพยากร
  • กิจกรรมที่ กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร
  • กิจกรรมที่ กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร 

          การไฟฟ้านครหลวง ได้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน อพ.สธ. ทั้งการจัดการแข่งขันกอล์ฟ MEA Classic เพื่อถวายเงินรายได้ให้ อพ.สธ. เป็นประจำทุกปี พร้อมกับการดูแลระบบไฟฟ้า ระบบเครื่องปรับอากาศในอาคารที่จัดเก็บพันธุกรรมพืช และที่เพาะเนื้อเยื่อพรรณไม้หายาก ซึ่งการไฟฟ้านครหลวงได้ให้การสนับสนุนการดูแลระบบไฟฟ้าและระบบเครื่องปรับอากาศ ดังนี้

 

1. เกาะแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

               การไฟฟ้านครหลวง ได้ร่วมกับกองทัพเรือในการดูแลระบบไฟฟ้าบนเกาะแสมสาร ซึ่งได้จัดไว้เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ (NATURE TRAIL) สวนพฤกษศาสตร์ ป่าชายเลนและบ่อแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ โดยให้เฉพาะนักวิจัยและเยาวชนหรือบุคคลที่มีเหตุผลสมควรในด้านการศึกษาและวิจัยตามพระราชดำริ ทั้งนี้สังคมพืชหมู่เกาะแสมสาร จัดเป็นประเภทสังคมพืชฝั่งทะเล (Littoral vegetation) ได้แก่ สังคมพืชชายหาด(Strand vegetation) แบ่งย่อยตามสภาพพื้นที่เป็น 2 แบบ ได้แก่ สังคมพืชหาดทราย และสังคมพืชตามโขดหิน สังคมพืชป่าชายเลน (Mangrove vegetation) (Littoral dryevergreen forest) สังคมพืชหน้าผา (Cliff vegetation) สังคมพืชป่ารุ่น ป่าเหล่าหรือป่าใสอ่อน (Secondary growth) ซึ่งการไฟฟ้านครหลวงได้ดำเนินการเข้าบำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและระบบไฟฟ้าเป็นประจำทุกปี

 
2. สวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

               การไฟฟ้านครหลวงได้เข้าดำเนินการเดินสายไฟฟ้าสำหรับวงจรแสงสว่าง บำรุงรักษาเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และอุปกรณ์ไฟฟ้า พร้อมปรับปรุงผนังเดิมและฝ้าเพดานที่ธนาคารพืชพรรณ (Plant Germplasm Bank) ที่อาคารธนาคารข้อมูล อาคารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และเรือนเพาะชำพืช ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทำการจัดเก็บพันธุกรรมพืช ตัวอย่างพืช โดยเก็บทั้งในรูปเมล็ด ต้นพืชมีชีวิต ชิ้นส่วนพืชที่มีชีวิต และเนื้อเยื่อหรือดีเอ็นเอ เพื่อเป็นการอนุรักษ์พืชพรรณ และความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ

 

3. ศูนย์อนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ คลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

         การไฟฟ้านครหลวง ได้เข้าไปดำเนินการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า ดูแลระบบปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น ในอาคารนิทรรศการและอาคารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ติดตั้งโคมไฟฟ้าส่องสว่างภายในศูนย์ฯ รวมถึงการรับปรุงระบบไฟฟ้าของเครื่องสูบน้ำให้สามารถใช้งานได้เป็นปกติ



1. แผนแม่บท อพ. สธ. ระยะ 5 ปี ที่หก (ตุลาคม พ.ศ.2559 - กันยายน 2564)                                                                        
2. แผนแม่บท อพ. สธ. ระยะ 5 ปี ที่เจ็ด (ตุลาคม พ.ศ.2564 - กันยายน 2569)                                                                               

3. ข้อมูล อพ.สธ.                                                                                                                                                      
                                                                    

 

 

 โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

ฝ่ายกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม ชั้น 6 เลขที่ 30 ซอยชิดลม ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

โทรศัพท์ : 0-2256-3554 ,0-2256-3000 ต่อ 4976

ผู้เยี่ยมชมวันนี้ 6
ผู้เยี่ยมชมทั้งหมด 22,424
  • MEA
    แฟกซ์ : 0-2256-3532
  • MEA
    E-mail :
© สงวนลิขสิทธิ์ 2566 : การไฟฟ้านครหลวง