• MEA

โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง

MEA HOSPITAL

ฟันและสุขภาพในช่องปาก

การรักษาโรคปริทันต์

Create Date: 17 พ.ค. 55

โรคปริทันต์นั้นมักไม่เจ็บปวด เมื่อเป็นระยะแรกเริ่ม ดังนั้นจึงต้องให้ความสนใจมากพอสมควร ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสูญเสีย อันเนื่องจากโรคปริทันต์ อย่างไรก็ตามโรคปริทันต์เป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ และแม้เมื่อเกิดขึ้นแล้วโดยเฉพาะระยะแรกๆ ก็สามารถรักษาให้หาขาดได้

การรักษาโรคปริทันต์นั้น แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

การอักเสบของเหงือกก่อนการรักษา

การอักเสบของเหงือกก่อนการรักษา
 

  • การสอนให้ผู้ป่วย ดูแลรักษาสุขภาพช่องปากอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ ให้ผู้ป่วยรู้จัก โรคปริทันต์ การเกิด สาเหตุและวิธีป้องกัน

    ดังได้กล่าวแล้ว ผู้ป่วยต้องให้ความร่วมมือ ในการทำความสะอาดฟันและซอกฟัน ตามวิธีที่ทันตแพทย์อธิบาย ทั้งนี้เพราะการรักษาโรคปริทันต์นั้น ต้องมีการร่วมมืออย่างดีระหว่างผู้ป่วยและทันตแพทย์ เพราะคราบจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปริทันต์นั้น เกิดขึ้นในช่องปากของผู่ป่วยทุกวัน เป็นไปไม่ได้ที่ทันตแพทย์จะกำจัดคราบนั้นให้ผู้ป่วยได้ทุกวัน ฉะนั้นการรักษาจะได้ผลได้หรือไม่ ขึ้นกับความสามารถของทันตแพทย์ครึ่งหนึ่ง และขึ้นกับ ความสามารถของผู้ป่วยในการรักษาความสะอาดฟันครึ่งหนึ่ง

  • การขูดหินปูน (Scaling)

    กำจัดคราบจุลินทรีย์หินปูน และสิ่งสกปรกในร่องเหงือก ร่องลึกปริทันต์ ( ร่องเหงือกที่ลึกกว่า 3 ม.ม. ) ออก นั่นคือต้องขูดหินปูนออกทั้งเหนือเหงือกและใต้เหงือก จากนั้นทำรากฟันให้เรียบ( Root Planing ) ปราศจากสารพิษใด ๆ เพื่อให้เส้นใยเหงือกและเอ็นยึดปริทันต์กลับยึดแน่นรอบตัวฟันเหมือนเดิมดังนั้นการขูดหินปูนให้หมดจริง ๆ จึงต้องใช้เวลาพอสมควร อาจต้องนัดครั้งละ 30 -45 นาที เป็นเวลา 2 - 4 ครั้ง หรือมากกว่านั้น ขึ้นกับความมากน้อยของหินปูน ความลึกของร่องลึกปริทันต์ ความแข็งของหินปูน เป็นต้นหลังจากนั้น ประมาณ 3 - 4 อาทิตย์ ทันตแพทย์จะประเมินผลดูว่าผู้ป่วยหายจากโรคปริทันต์หรือไม่ โดยดูลักษณะเหงือกว่ากลับสู่สภาพปกติ หรือ ยังมีเลือดออกเวลาแปรงฟัน และเมื่อใช้ เครื่องมือวัดร่องลึกปริทันต์หรือไม่ ความลึกของร่องลึกปริทันต์ ตื้นขึ้นหรือเข้าสู่สภาวะปกติหรือไม่ ถ้ายังมีความลึกของร่องลึกปริทันต์อยู่ ทันตแพทย์จะพิจารณาว่าควรจะทำการผ่าตัดหรือไม่ ทั้งนี้ขึ้นกับการร่วมมือของผู้ป่วยในการทำความสะอาดด้วย แม้ว่าเหงือกจะกลับคืนสู่สภาวะปกติแล้ว ถ้าผู้ป่วยละเลยไม่ทำความสะอาดอย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอ ก็สามารถที่จะกลับเป็นโรคปริทันต์ได้อีก




  • สภาพเหงือกหลังการขูดหินปูนและทำความสะอาดเอง



    การผุของฟันถึงขอบเหงือก 

  • การทำศัลยปริท้นต์ (Periodontal Surgery)

    ในกรณีที่ผู้ป่วยร่วมมือดีและร่างกายแข็งแรง แต่ยังมีร่องลึกปริทันต์อยู่ ซึ่งถ้าร่องเหงือกเกิน 3 ม.ม. นั้น แม้ผู้ป่วยจะร่วมมือทำความสะอาด อย่าวไรก็ตามไม่สามารถทำความสะอาดร่องลึกนั้นเองได้เอง ซึ่งถ้าทิ้งไว้จะทำให้อาการของโรคปริทันต์เกิดขึ้นได้อีก ฉะนั้นทันตแพทผู้เชี่ยวชาญโรคเหงือก ( Perio dontist ) จะเป็นผู้ทำการรักษาต่อไป เพื่อกำจัดร่องลึกปริทันต์นั้นให้ลึกเท่าปกติ คือประมาณ 3 ม.ม. ให้เหงือกสู่สภาพที่แข็งแรง รัดแน่นรอบตัวฟัน และมีการสร้างเส้นใยเงือก และเอ็นยึดปริทันต์ที่แข็งแรงได้

    นอกจากนี้ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคเหงือก ( Periodontis ) สามารถที่จะทำ ศัลยกรรมตกแต่งเหงือกท่านได้ เช่น เหงือกร่น เนื่องจากการแปรงฟันผิดวิธี ทั้งนี้ต้องขึ้นกับแต่ละกรณีไป มิใช่ทำได้ทุกกรณี หรือสามารถตกแต่งเหงือกที่ใหญ่เกินไป ทำความสะอาดได้ยาก



  • เนื้อฟันที่เพิ่มขึ้นหลังการผ่าตัด



    สภาพฟันและเหงือก หลังการรักษาคลองรากฟัน และครอบฟัน
     
  • การบำรุงรักษา (Maintenace)

    เป็นสิ่งจำเป็นมาก ผู้ป่วยควรกลับมาให้ทันตแพทย์ตรวจสภาพเหงือก และฟัน หลังการรักษา และร่วมมือในการรักษาความสะอาดฟัน และอวัยวะในช่องปาก โดยการแปรงฟัน และทำความสะอาดซอกฟัน ตามที่ทันตแพทย์แนะนำอย่างถูกต้อง และสม่ำเสมอ ในระยะแรกหลังการขูดหินปูน หรือการผ่าตัด ควรกลับมาใหทันตแพทย์ตรวจ และทำความสะอาด ภายใน 2 - 3 เดือน จากนั้นถ้าผู้ป่วยสามารถทำความสะอาดได้อย่างดี และไม่มีเหงือกอักเสบ หรือร่องลึกปริทันต์ ทันตแพทย์จะนัดผู้ป่วยมาตรวจและขูดหินปูน ภายใน 5 - 6 เดือน โดยทุกครั้ง จะดูความร่วมมือของผู้ป่วย และอาจทบทวนวิธีทำความสะอาดฟันและเหงือกด้วย



  • เหงือกร่นซึ่งเกิดจากการแปรงฟันผิดวิธี



    เหงือกร่นและไม่มีเหงือกยึด



    เหงือกยึดที่ได้จากการปลูกเหงือก ( Free Gingival Graft )



    การปิดรากฟัน โดยยกเหงือกยึดที่ปลูกไว้ขึ้นมาปิด กำจัดปัญหาเหงือกร่น

สรุป

คราบจุลินทรีย์ (Bacterial Plaque) ผลิตสารพิษขึ้นมาทำให้เกิดโรคปริทันต์ ถ้าไม่ได้รับการรักษาโรคปริทันต์ สามารถทำให้สูญเสียกระดูก เหงือก และท้ายที่สุดสูญเสียฟันไปโรคปริทันต์จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าท่าน
  • แปรงฟันและใช้เส้นใยขัดฟัน ( หรือ เครื่องมือทำความสะอาดซอกฟันที่เหมาะสมกับท่าน ) อย่างถูกต้อง และ เหมาะสม่ำเสมอ เพื่อกำจัดคลาบจุลินทรีย์
  • พบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อตรวจสภาพเหงือกและฟัน
  • รับการรักษาที่จำเป็น โดยเฉพาะในระยะเริ่มแรก อย่าทิ้งไว้จนฟันโยก จนทำให้การรักษาเป็นไปด้วยความยุ่งยาก
โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง
809/1 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300

โทรศัพท์ : 02-242-5045

ผู้เยี่ยมชมวันนี้ 120
ผู้เยี่ยมชมทั้งหมด 323,350
  • MEA
    แฟกซ์ : 02-242-5120
  • MEA
    E-mail : med@mea.or.th
© สงวนลิขสิทธิ์ 2566 : การไฟฟ้านครหลวง