• การบริการทางกายภาพบำบัด
    1. โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
      • กลุ่มอาการปวดคอ ปวดบ่า (Neck pain)
      • กลุ่มอาการปวดชาจากกระดูกคอเลื่อน (C-Spondylosis)
      • กลุ่มอาการชาจากเส้นประสาทถูกกดทับ (Nerve compression)
      • กลุ่มอาการจากหมอนรองกระดูกเสื่อม (Spondylosis) / เคลื่อน (Herniated disc)
      • กลุ่มอาการปวดชาจากกระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis)
      • กลุ่มอาการปวดหัวไหล่ (Shoulder pain), ข้อไหล่ติด (Frozen shoulder)
      • กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อข้อศอก (Tennis elbow, Golfer’s elbow)
      • กลุ่มอาการปวดมือ, นิ้วมือ (CTS, Trigger finger)
      • กลุ่มอาการปวดข้อเข่า (Knee pain, Osteoarthritis)
      • กลุ่มอาการข้อเท้า, ส้นเท้า (Ankle sprain, Plantar fasciitis)
      • กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน (Muscle sprain)
      • กลุ่มอาการกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง (Myofascial pain syndrome)
      • กลุ่มผู้ป่วยกระดูกหัก ใส่เฝือก / ดามเหล็ก (Fracture)
    2. โรคระบบประสาท ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต (Stroke, Brain injury, Spinal Cord injury) กล้ามเนื้อแขน/ขา อ่อนแรง เป็นต้น
    3. โรคทางระบบหัวใจและปอด การเคาะปอด การสั่นปอด การจัดท่าระบายเสมหะ ช่วยการขับเสมหะออกจากปอด สอนวิธีการหายใจ การไอ ที่ถูกต้อง เป็นต้น
    4. ภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่างๆ เช่น โรควัยชรา  มะเร็ง ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่ต้องนอนรับการรักษาบนเตียงเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้อยึดติด แผลกดทับ การฝ่อลีบของกล้ามเนื้อแขนและขา ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการเคลื่อนไหวหรือบริหารที่ถูกต้องอย่างเชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง
    5. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีใช้กายอุปกรณ์เสริม (Orthosis) กายอุปกรณ์เทียม (Prosthesis) และอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด เช่น ไม้ค้ำยัน , Walker , ไม้เท้า, support , รถเข็น เป็นต้น
  • ให้การรักษาโดยวิธีทางกายภาพบำบัดต่างๆ เช่น
    • การใช้ความร้อน – ความเย็นในการรักษา (Cold and hot pack )
    • การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shockwave Therapy)
    • การใช้เลเซอร์ในการักษา (LASER)
    • การใช้คลื่นเหนือเสียงในการรักษา (Ultrasound)
    • การใช้เครื่องดึงหลัง – ดึงคอ (Traction)
    • การใช้กระแสไฟฟ้าในการรักษา (TENS, Interferential)
    • การใช้คลื่นสั้นในการรักษา (Shortwave diathermy)
    • การดัดและดึงข้อ (Joint mobilization and stretching)
    • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว (ROM exercise)
    • การออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strengthening exercise)
    • การฝึกเคลื่อนย้ายตัว และเดิน (Transfer and gait training)
    • วิธีทางกายภาพบำบัดอื่น ๆ
  • สถานที่ให้บริการ อาคาร 9 ชั้น 2 โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง
  • ติดต่อ สามารถปรึกษาหรือสอบถามเบื้องต้น ได้ที่ 704-5057 หรือ 02-2425057 ในเวลาทำการ วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 7.30 – 15.30 น. ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์